กิจกรรมงานประดิษฐ์

การเล่านิทาน ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะทั้งทางด้านความคิดหรือด้านภาษา ที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างสมาธิให้กับเด็กจากการฟังนิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่า แต่จะให้เด็ก ๆ รู้สึกสนใจและสนุกไปกับนิทาน การเล่าแบบเดิมก็ดูจะธรรมดาเกินไป วันนี้ผู้เขียนมีกิจกรรมงานประดิษฐ์ ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล ประกอบการเล่านิทาน มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่ให้ชวนเด็ก ๆ มาทำด้วยกันค่ะ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสนุกสนานในการเล่านิทานแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กอีกด้วย วัสดุหลักที่ใช้ในการทำก็มีเพียงแค่กระดาษการ์ด สีอะคริลิค และPattern สำหรับทำตุ๊กตากระดาษเท่านั้นเอง เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม แล้วมาทำกันเลย

joker123

กิจกรรมงานประดิษฐ์ ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล
อุปกรณ์
อุปกรณ์การทำกิจกรรม งานประดิษฐ์ ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล
อุปกรณ์การทำกิจกรรม งานประดิษฐ์ ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล
1กระดาษการ์ด A4 150 แกรม
2สีอะคริลิค
3กาว
4กรรไกร
5พู่กัน
6เทปใส
7แกนกระดาษชำระ สูง 4.5 เซนติเมตร

ขั้นตอนการทำ
1.ดาวน์โหลด Pattern ตุ๊กตากระดาษและฉากนิทาน แล้วปริ้นลงบนกระดาษการ์ด (สามารถดาวน์โหลด Pattern ตุ๊กตากระดาษและฉากนิทาน ได้ที่ด้านล่างของบทความค่ะ) ถ้าไม่มีกระดาษการ์ด สามารถปริ้น Pattern ลงบนกระดาษ A4 แทนได้ค่ะ แต่อาจต้องมีปรับเปลี่ยนสีที่ใช้ระบายจากสีอะคริลิค เป็นสีไม้ สีเทียน หรือสีชอล์คแทนได้นะคะ เพราะกระดาษA4 มีความบางกว่ากระดาษการ์ด หากใช้สีอะคริลิคระบายอาจทำให้กระดาษพองและงอได้ค่ะ

สล็อต

ปริ้น Pattern ชุดนางฟ้าและชุดพ่อมด ลงบนกระดาษการ์ด

ปริ้น Pattern ฉากนิทาน ลงบนกระดาษการ์ด

  1. ระบายสี Pattern ตุ๊กตากระดาษและฉากนิทานให้สวยงาม ทิ้งไว้จนกว่าสีจะแห้ง

เด็กกำลังระบายสี Pattern ชุดนางฟ้าตามจินตนาการ

  1. ใช้กรรไกรตัด Pattern ตุ๊กตากระดาษและฉากนิทานทั้ง 2 แผ่น ออกมาเตรียมไว้

เด็กตัด Pattern ชุดนางฟ้า ที่ระบายสีเสร็จแล้ว

เด็กและผู้ปกครองช่วยกันตัด Pattern ฉากนิทาน

  1. นำตุ๊กตากระดาษที่ตัดเสร็จแล้วมาพันรอบแกนกระดาษชำระ เพื่อเป็นเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวตุ๊กตากระดาษ เวลาตั้งหรือโดนลมแรง ๆ จะได้ไม่ล้ม จากนั้นติดเทปใสให้เรียบร้อย

ถ้าใช้แกนกระดาษชำระขนาดเล็กสามารถตัดปลายทั้งสองข้างของตุ๊กตากระดาษให้สั้นลงได้นะคะ
พัน Pattern ชุดนางฟ้า รอบแกนกระดาษชำระ แล้วติดเทปใส
พัน Pattern รอบแกนกระดาษชำระ แล้วติดเทปใส

สล็อตออนไลน์

  1. นำชิ้นส่วนฉากนิทานทั้ง 3 ชิ้น มาทากาวแล้วประกอบเข้าด้วยกัน รอจนกว่ากาวจะแห้ง แล้วพับชิ้นส่วนด้านซ้ายและด้านขวาเข้าหากัน เพื่อให้ฉากนิทานสามารถตั้งได้

ทากาวที่ฉากนิทานบริเวณที่กำหนดไว้

ประกอบฉากนิทานทั้งหมดเข้าด้วยกัน

ฉากประกอบนิทาน เสร็จแล้วค่ะ

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล และฉากประกอบการเล่านิทานกันแล้วค่ะ

ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล ชุดเจ้าชาย เจ้าหญิง และนางฟ้า

ตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล ชุดมังกรและชุดพ่อมด

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจให้เด็ก ๆ นำตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทลที่ทำเสร็จแล้วมาแต่งเป็น นิทานหน้าเดียว สั้น ๆ เป็นของตนเอง เพื่อเป็นการกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ทั้งนี้คุณครูยังสามารถนำไปประยุกต์เป็นสื่อการสอนในห้องเรียนได้อีกด้วยนะคะ

jumboslot

เด็กกำลังเล่านิทานตามจินตนาการอย่างตั้งใจ

เด็กและผู้ปกครองเล่านิทานกันอย่างสนุกสนาน

กิจกรรมตุ๊กตากระดาษแฟรี่เทล ประกอบการเล่านิทาน ทำให้เด็กมีความกล้าคิด กล้าแสดงออกจากการสร้างนิทานตามแบบฉบับที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่แน่คุณพ่อคุณแม่และคุณครูอาจได้นิทานใหม่ ๆ จากเด็กทุกวันก็ได้ อย่าลืมไปลองทำเล่นกันดูนะคะ

Active Play คือกิจกรรมการเล่นใดๆ ที่เด็กเป็นผู้ร่วมเล่นด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน เป็นการเล่นที่ไม่มีการกำหนดรูปแบบกติกาที่เป็นทางการ (Unorganized/ Unstructured) และอยู่นอกเหนือชั่วโมงพลศึกษา ทั้งยังหมายถึงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น วิ่งเปี้ยว ม้าเขย่ง ม้าก้านกล้วย ได้ด้วย อาจฟังดูเป็นนิยามใหม่ ทว่าที่จริงเป็นพฤติกรรมโดยธรรมชาติของเด็กอยู่แล้วที่ชอบเล่น

การออกมาเล่น เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย (Physical Activities หรือ PA) อันหมายถึง การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อโครงสร้างและทำให้มีการใช้พลังงานของร่างกาย สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ

ระดับเบา : คือระดับที่มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก เช่น การยืน การนั่ง

slot

ระดับปานกลาง : คือการเคลื่อนไหวออกแรงที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีความหนักและเหนื่อยในระดับเดียวกับการเดินเร็ว ขี่จักรยาน การทำงานบ้าน ชีพจรเต้น 120-150 ครั้ง ระหว่างที่เล่นยังสามารถพูดเป็นประโยคได้ และมีเหงื่อซึมๆ

ระดับหนัก : คือการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการทำซ้ำและต่อเนื่อง โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การวิ่ง เดินขึ้นบันได การออกกำลัง มีระดับชีพจร 150 ครั้งขึ้นไป จนทำให้หอบเหนื่อย และพูดเป็นประโยคไม่ได้

การออกมาเล่น Active Play ที่ถือว่าได้ประโยชน์สูงและส่งผลดีต่อสุขภาพ คือการมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง-หนัก

ทำไมต้องชวนเด็กออกมาเล่น Active Play

แม้ธรรมชาติของเด็กจะชอบเล่น แต่จากการสำรวจพบว่า เด็กรุ่นใหม่กำลังขาดกิจกรรมทางกายอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในเขตเมือง ปัจจุบันเด็กไทยใช้เวลาอยู่หน้าจอ เฉลี่ยวันละ 3.1 ชั่วโมง/วัน แถมยังมีภาวะเฉื่อยและเนือยนิ่งมากขึ้น (Sedentary) ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และขาดทักษะในการเข้าสังคม โดยผลสำรวจการมีกิจกรรมทางกายระดับประเทศ โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เปรียบเทียบปี พ.ศ.2555 และ 2557 พบว่า กลุ่มเด็กไทยมีกิจกรรมทางกายลดลงจากร้อยละ 67.6 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 63.2 ในปี 2557

เมื่อศึกษาในรายละเอียดจะพบว่า กลุ่มวัยรุ่น (ร้อยละ45) และกลุ่มเด็ก (ร้อยละ 36) มีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ (Screen Time) มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยร้อยละ 44.9ของกลุ่มเด็กและเยาวชนใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้ที่มีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง ในระยะเวลา 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัยเรียน

Back To Top